สมอง กับ ความจำ
Print
February 28, 20153,355 views , 0 comments
สมอง กับ ความจำสวัสดีค่ะ วันนี้เรามีเทคนิคดีดีที่จะมาช่วยพัฒนาความจำของเรา บางคนมักบอกว่าตัวเขาเป็นคนความจำไม่ดี ซึ่งในความเป็นจริงแล้วสมองของคนเรานั้นมีประสิทธิภาพไม่ต่างกันเลย แม้แต่ไอน์สไตน์ เมื่อเสียชีวิตแล้ว มีนักวิทยาศาสตร์ได้ผ่าพิสูจน์สมองของเขาก็พบว่าไม่ได้มีความแตกต่างกับคนทั่วไป แล้วทำไมเราจึงจำเก่งไม่เท่ากัน...จริงๆ แล้วสมองเป็นอุปกรณ์อย่างหนึ่งในร่างกายเราที่ควรจะต้องศึกษาวิธีการใช้สมองอย่างถูกวิธี เพื่อที่จะได้ใช้สมองให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดนะคะเรามาดู 5 เทคนิคการจำแบบฉบับ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ กันค่ะ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ กล่าวไว้ว่า "จินตนาการสำคัญกว่าความฉลาด Imagination is more important than intelligence" เพราะตัวเขาเองเมื่อจะคิดค้นอะไรใหม่ๆ เขามักนึกเห็นผลลัพธ์ของมันออกมาก่อนเสมอ จากนั้นจึงศึกษาค้นคว้าหาวิธีทำให้จิตนาการของเขาสำเร็จเป็นความจริงขึ้นมา และหลักการนี้ได้ผ่านบทพิสูจน์มานับครั้ง ไม่ถ้วน
มีเรื่องของ "รอน ไวท์" เป็นผู้หนึ่งที่ท้าพิสูจน์เรื่องนี้ผ่านชีวิตจริง 17 ปีที่ผ่านมา ในขณะที่ "รอน ไวท์" เป็นนักศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งของรัฐเทกซัสหรัฐอเมริกา เขาเป็นผู้ชาย ธรรมดาที่มีความฝันว่า วันหนึ่งจะมีความจำเป็นเลิศแบบไอน์สไตน์ ทันทีที่ได้ยินข่าวว่ามีการเปิดอบรมเรื่องความจำแบบ "ไอน์สไตน์" เขาจึงไม่ยอมละทิ้งโอกาสดีๆ รีบสมัครเข้าร่วมโครงการ และวันนี้ "รอน ไวท์" กลายเป็นที่รู้จักของคนทั่วไปในฐานะผู้ที่มีความจำยอดเยี่ยมที่สุดคนหนึ่ง ของโลก เป็นวิทยากรชื่อดังด้านการฝึกฝนความจำโดยวิธีพัฒนาความคิดแบบไอน์สไตน์ที่ ใครๆ ก็อยากฝากตัวเป็นศิษย์...ดังนั้นเมื่อเราเห็นคอร์สอบรมอะไรก็ลองให้ความใส่ใจดูว่าอะไรเหมาะสมกับเรา และเขาอบรมเพื่อพัฒนาตนเองอย่างสม่ำเสมอนะคะ ไม่แน่ว่าเราอาจจะเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านใดด้านหนึ่ง และช่วยเหลือคนได้อีกมากก็เป็นได้ รอนบอกกับทุกคนว่า ทุกคนสามารถทำได้ สามารถจำหลายสิ่งหลายอย่างได้ เพียงแต่รู้จักพัฒนาความคิดอย่างเป็นระบบ มีระเบียบในการจำ แบบทดสอบแรกที่รอนใช้สอน ผู้กระหายอยากมีความจำเป็นเลิศคือ คำง่ายๆ 20 คำ นั่นคือ
"ฟูจิ น้ำแข็ง ต้นไม้ จักรยาน สุนัข น้ำ 1 แก้ว รองเท้า ทีวี หมอน สปริง เครื่องบิน โตเกียว แมว หมวกสีดำ แว่นตา เสื้อสีน้ำตาล เช็คมูลค่า 100,000 บาท รถคันใหม่ สุนัข และฟูจิ"
หลายคนฟังแล้วอาจจะรู้สึกหงุดหงิด คำตั้งเยอะจะจำอย่างไรได้ เทคนิคง่ายๆ ที่ "รอน"บอกว่าเป็นพื้นฐานของการจำ นั่นคือการผูกคำเหล่านี้เป็นห่วงโซ่ให้กลายเป็นเรื่องราว กรณีนี้ "รอน" ให้ทุกคนลองจินตนาการว่าเราไปที่ภูเขาฟูจิ ที่นั่นมีน้ำแข็ง ต้นไม้ จักรยานจอดอยู่ เจอสุนัขใส่รองเท้าคู่หนึ่ง กำลังถือน้ำอยู่ในมือ 1 แก้ว นอนดูทีวีอยู่บนหมอนและที่นอนสปริง จากนั้นก็ขึ้นเครื่องบินไปโตเกียว เจอแมว ใส่หมวกสีดำ ใส่แว่นตา ใส่เสื้อสีน้ำตาล ในมือมีเช็คมูลค่า 100,000 บาท เตรียมไว้สำหรับซื้อรถคันใหม่ แล้วเจอสุนัขอีกตัวก่อนบินกลับภูเขาฟูจิ เท่านี้ทุกคนก็สามารถที่จะจำคำต่างๆ ที่บอกไปได้ทั้งหมด
"รอน" บอกถึงเคล็ดลับในการจำ มีอยู่ 5 ขั้นตอน คือ
1. ชัดเจน (focus) โฟกัสสิ่งที่ต้องการจดจำให้ชัดเจนว่าคืออะไร มีความโดดเด่นตรงไหน ตรงนี้ถือว่าเป็นจุดที่สำคัญที่สุดที่ทำให้พลังของการจดจำมีประสิทธิภาพ
2. บันทึก (files) เป็นอีกขั้นตอนหนึ่งที่ละเลยไม่ได้ หากคุณต้องการเรียกคืน เอกสารจากคอมพิวเตอร์กลับมาใช้อีก คุณจะต้องบันทึกโฟลเดอร์หรือไฟล์งาน นั้นไว้เพื่อเรียกใช้ในภายหลัง ความทรงจำของคุณเช่นกันที่มีกลไกการทำงานแบบเดียวกัน ดังนั้นเพื่อให้สามารถเรียกข้อมูลกลับมาใช้ได้ในระยะเวลาต่อมา ทุกคนจำเป็น ต้องบริหารจัดการความทรงจำ และจัดเก็บข้อมูลไว้ในตู้เก็บไฟล์แห่งความทรงจำ อย่างมีระบบและมีระเบียบ เพื่อเวลาเรียกใช้จะได้ง่ายขึ้น
3. ภาษาภาพ (pictures) เพื่อให้ง่ายต่อการจดจำ ทุกคนจำเป็นต้องจินตนาการ สิ่งที่ต้องการจำให้เป็นภาพที่คุ้นเคย หรือภาพที่สะดุดตา พูดง่ายๆ อะไรก็ตามที่ต้องการจดจำจะต้องแปลงให้อยู่ในรูปแบบของภาษาภาพเสมอ และนี่คือเหตุผลที่อธิบายถึงการจดจำหน้าตาของผู้คน แต่ไม่สามารถจำชื่อได้เนื่องจากทุกคนมองเห็นรูปหน้าคน แต่มองไม่เห็นชื่อของคนคนนั้น เวลาเจอหน้ากันอีกครั้งจึงรู้สึกคุ้นตาแต่จำชื่อไม่ได้ การจำเป็นภาพก็ใช้หลักการเดียวกัน ดังนั้นหากคุณต้องการจดจำบทกวี ตัวเลข ที่อยู่ ข้อมูลจากชั้นเรียน ข้อความในหนังสือ หรืออะไรก็ตาม จะต้องแปลงสิ่งเหล่านั้นให้เป็นภาพเสียก่อน เพื่อให้มองเห็นและจดจำมันได้
4. ติดตรึง (glue) การจะจดจำบางสิ่งบางอย่าง สิ่งนั้นต้องมีความโดดเด่น เพียงพอที่จะติดตรึงอยู่ในความทรงจำ กระทบกับความรู้สึกของตัวเองอย่างแรง หากสังเกตช่วงชีวิตที่ผ่านมา จะเห็นได้ชัดว่าความจำจะติดตรึงอยู่ในความทรงจำ ได้ก็ต่อเมื่อภาพนั้นมีความ เคลื่อนไหว มีความรู้สึก หรือมีสิ่งพิเศษบางอย่างมาเชื่อมโยงกับตัวเรา และนี่เป็นคำตอบว่าทำไมคุณจึงสามารถนึกถึงรายละเอียดของอุบัติเหตุทางรถยนต์ เมื่อ 20 ปีก่อนได้อย่างแม่นยำ หรือนึกย้อนถึงเหตุการณ์โศกนาฏกรรมที่เกิดขึ้นเมื่อ 15 ปีก่อนได้ ซึ่งนี่ก็เป็นเหตุผลเดียวกับที่คุณสามารถนึกถึงเหตุการณ์ดีๆ อย่างเช่นตอนที่คุณให้กำเนิดลูก หรือวันแต่งงาน ดังนั้น ภาพที่สร้างสรรค์ขึ้นมาเพื่อจำ จะต้องเป็นภาพที่ติดตรึงในความทรงจำได้ดี มีความเคลื่อนไหว หรือความรู้สึกร่วมด้วย และหากเป็นภาพที่มีความพิเศษมากก็จะยิ่งช่วยให้จำได้ดีขึ้น
5. ทบทวน (review) การทบทวนสิ่งที่บันทึกไว้ในความทรงจำ เป็นอีกขั้นตอนหนึ่งที่จะทำให้สามารถจำ สิ่งต่างๆ ได้ในระยะยาว วิธีการง่ายๆ ตื่นเช้าขึ้นมาให้ถามตัวเองว่า เมื่อวานนี้เราได้พบใครบ้าง เพื่อจะทบทวนรายชื่อของคนที่เราได้พบ แล้วดูว่ามีกี่คนที่คุณสามารถจำได้ ตรงนี้ถือเป็นแบบฝึกหัดที่ดี แถมยังช่วยเพิ่มเติมข้อมูลไปในเมโมรี่ส่วนตัวไปพร้อมๆ กันด้วย
ถ้าทุกคนสามารถทำได้ตามขั้นตอนนี้ ต่อไปไม่ว่าจะเป็นการพูดหน้าห้อง หรือพรีเซนต์งานต่างๆ ก็ทำได้อย่างน่าทึ่ง ก่อนเข้าสู่กระบวนการจำ 5 ขั้นตอน ทุกคนจะต้องแบ่งพื้นที่ในสมองออกเป็นห้องๆ แล้วสร้างแฟ้มข้อมูล นำประเด็นต่างๆ มาแปลงให้เป็นรูปภาพที่คุ้นเคยในชีวิตประจำวัน เช่น สิ่งต่างๆ ภายในบ้าน สถานที่ทำงาน เมืองสำคัญๆ หรือรายละเอียดของร่างกาย แล้วให้หมายเลขสิ่งของเหล่านั้นเพื่อช่วยในการจำให้ง่ายขึ้น
ทักษะเหล่านี้เป็นเรื่องที่พัฒนาได้ เพียงแต่ทุกคนต้องมีจินตนาการ "ถ้าอยากจำอะไร ก็สร้างภาพแล้วใส่ทุกอย่างในแฟ้ม ไม่ว่าจะจำ 100 สิ่ง 1,000 อย่าง ไม่ว่าสิ่งที่อยากจำจะเป็นรูปธรรมหรือนามธรรม ก็ใช้หลักการพื้นฐาน 5 ขั้นตอนเหมือนกัน แทนสิ่งที่ต้องการจำด้วยรูปภาพ หรือหมายเลข และหากต้องการจำได้ในระยะยาวจะต้องมีการทบทวนอย่างสม่ำเสมอ ผ่านไป 1 สัปดาห์กลับมาทบทวนครั้งหนึ่ง ผ่านไป 1 เดือนกลับมาทบทวนอีกครั้งหนึ่ง ความจำก็จะคงอยู่กับเราตลอดไป" และนี่เป็นเคล็ดลับง่ายๆ การเพิ่มศักยภาพในการจำให้กับสมองของทุกคนนั่นเองจากที่เราได้ทราบเคล็ดลับข้างต้นแล้ว โดยส่วนตัวรู้สึกดีใจเพราะที่ผ่านมาตั้งแต่เด็กๆ ก็ใช้การจำวิธีนี้ เมื่อต้องการจำอะไรให้ได้ในระยะสั้นๆ และพบว่าใช้ได้ผลดีตลอดมา เพราะเป็นคนที่ชอบจินตนาการอยู่แล้ว เรื่องการจำจึงเป็นเรื่องสนุกๆ แต่ด้วยความที่ไม่คิดว่าวิธีการที่เราคิดค้นขึ้นมาเองจะเป็นสิ่งที่ถูกต้องตามหลักการการใช้สมองของเรา จึงไม่ได้นำมาใช้กับในการเรียนได้มากเท่าที่ควรจะเป็น เช่นในเวลาเรียนบางวิชาที่ต้องจำมากๆ เช่น จำศัพท์ ชื่อเฉพาะของอะไรต่างๆ ก็เลยใช้วิธีการจำแบบทั่วไป ซึ่งทำให้เกิดความเครียดตามมา...อ้อ แล้วสำคัญนะคะ เมื่อเราจินตนาการเรื่องราวแล้ว พยายามให้เรื่องที่เราจินตนาการ ตลก สนุก เพราะจะมีจุดเด่นให้เราจำได้ง่ายขึ้นไปอีก และจะช่วยให้เราอารมณ์ดีเวลาฝึกจำด้วยนะคะแต่ทุกวันนี้เมื่อต้องทำงานที่เกี่ยวกับการจำบทพูด คริสป์ บรรยายต่างๆ ก็จะใช้เทคนิคนี้ตลอด ซึ่งก็คือ การหลับตา เห็นภาพ ผูกเรื่อง และสร้างหมวดหมู่ความจำในสมองเรา ทำให้สามารถจำได้ไว และเรียบเรียงเรื่องราวพูดออกมาได้อย่างไม่พลาดเลยค่ะ...ที่สำคัญมากๆ คือ เรื่อง "สมาธิ" ค่ะ เพราะถ้าเรามีสมาธิดีเมื่อเราหลับตาจินตนาการก็จะทำให้จำได้แม่น และเร็วมากจริงๆ ดังนั้น เคล็ดลับง่ายๆ นะคะ " ทำสมาธิ ตั้งสติหลับตา พาใจสนุก ผูกเรื่องในจินตนาการ" แค่นี้เองค่ะขอให้ทุกคนประสบความสำเร็จกับการฝึกจำนะคะ อย่าลืมนะคะทุกอย่างอาศัยความคุ้นเคย และชำนาญ ดังนั้นหมั่นฝึกกับบ่อยๆ ทำแบบสนุกๆ เดี๋ยวดีเองค่ะ
ของคุณภาพจากhttp://dekling.exteen.com/20110427/entryและhttp://www.legendnews.net/index.php?lay=show&ac=article&Id=539359610&Ntype=87
Tag :
สมอง
ความจำ
จินตนาการ
ไอน์สไตน์
อัจฉริยะ
ฺBrain
Memory
Remember
Imagine
Genius
AlbertAistine
Comments to this story