Follow Us

Story We Share

STORY BY Sasha (Master)

Tips ดีดีเพื่อสุขภาพ

Print October 06, 20121,654 views , 0 comments

 

จะเลือกทานอาหารทั้งที เราก็ต้องเลือกเฉพาะสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายเท่านั้น จากหนังสือ อาหารต้านโรค (Alternative Medicine) โภชนาการทางเลือก กินอย่างไรให้สุขภาพดี และมีชีวิตยืนยาวโดย ฉัตรภา หัตถโกศล วันนี้เรามาดูกันคะ ว่าอะไรที่เราควรทานและไม่ควรทานค่ะ

 

อัลมอนด์ขจัดคอเลสเตอรอล : ทานอัลมอนด์วันละ 1 กำมือ เป็นเวลา 1 เดือน สามารถปรับลดอัตราส่วนระหว่างคอเลสเตอรอลที่อุดตันในเส้นเลือด กับคอเรสเตอรอลตัวดีในทางที่ดีขึ้นได้

 

การทานน้ำส้มให้ได้ประโยชน์สูงสุด :  ควรทานหลังจากคั้นมาสดๆใหม่ๆ ถ้าซื้อดื่มต้องระวังเรื่องความสะอาด ไม่ควรเก็บไว้นาน เพราะวิตามินซีจะสูญเสียไปร้อยละ 2 ต่อวัน

 

กล้วยลดความเสี่ยงเส้นโลหิตแตก :  กล้วยอุดมไปด้วยโพแทสเซียม มีงานวิจัยพบว่าผู้ที่ได้รับโพแทสเซียมมากพอจะทำให้ลดความเสี่ยงความเป็นเส้นเลือดแตกได้

 

Chocolate:  ถ้าเราอยากทานช๊อคโกแลต แสดงว่าร่างกายเราอาจขาดแมกนีเซียม ทำให้หัวใจแข็งแรง ถ้าอยากทานช๊อคโกแลตจริงๆ ให้ทาน dark chocolate ซึ่งมีคุณค่าทางโภชนาการมากกว่าช๊อคโกแลตผสมนมชนิดต่างๆ

 

มหัศจรรย์น้ำองุ่น :  คนที่ดื่มน้ำองุ่นจะได้รับประโยชน์จากระดับคอเลสเตอรอล LDL ลดลง ลดโอกาสการเป็นโรคหัวใจ เพราะสามารถลดระดับคอเลสเตอรอล LDLในเส้นเลือด ต้นเหตุโรคหัวใจได้

Omega 3 : ช่วยลดความเสี่ยงจากอาหารหัวใจวายเมื่อเราอายุมากขึ้นได้ถึง 44 % การบริโภคไขมันปลาสัปดาห์ละครั้ง จะให้ได้ประโยชน์ควรใช้วิธีการย่าง หรือ อบ แทนการทอด ปลาที่มีโอเมก้า 3 ได้แก่ ปลาแซลมอน ปลาซาร์ดีน ปลาแมคเคอเรล และปลาทูน่า

 

เลือกไขมันอย่างฉลาด :  ไขมันนี้ไม่ได้แต่ทำให้เราอ้วนเท่านั้น แท้จริงแล้วไขมันมีประโยชน์ และจำเป็น คือ เป็นแหล่งกำเนิดพลังงานที่ให้แคลอรีต่อปอนด์เป็นสองเท่าของคาร์โบโฮเดรต และโปรตีน โดยไขมันช่วยสร้างเยื่อหุ้มเซลล์และรวมอยู่ในเซลล์ประสาทของมนุษย์ ซึ่งสมองประกอบด้วยไขมันถึงร้อยละ 60 โดยไขมันมีหลายประเภทดังนี้

  1. Saturated Fats เป็นไขมันเลว พบในเนื้อสัตว์ และน้ำมันปล์ม ทำให้เป็นโรคหัวใจ และมะเร็ง ร่างกายต้องการไขมันชนิดนี้เพียงเล็กน้อย
  2. Polyunsaturated Fats  ไขมันกลุ่มนี้รวมถึงโอเมกา 3 และ 6 ซึ่งไม่สามารถบอกได้ว่าดี หรือ เลว พืชส่วนใหญ่อยู่ในประเภทนี้
  3. Omega3 Fats  ไขมันประเภทนี้ลดความเสี่ยงของโรคหัวใจ และมะเร็ง ส่วนใหญ่พบในปลาและน้ำมันจากเมล็ดแฟลกซ์
  4. Omega6 Fats พบในถั่วเหลือง ข้าวโพด เมล็ดดอกทานตะวัน ดอกคำฝอย เมล็ดฝ้าย และน้ำมันพืชอื่นๆ ไขมันนี้ถือเป็นไขมันเลว พบว่าชาวอเมริกันบริโภคไขมันประเภทนี้มากเกินไป จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงของภูมิคุ้มกัน และเป็นมะเร็งได้ง่าย
  5. Monounsaturated Fats  เป็นไขมันซึ่งสามารถลดอัตราเสี่ยงของโรคมะเร็ง ได้แก่ น้ำมันมะกอก และ คาโนลา
  6. Hydrogenated Oils sinv Trans Fats เป็นไขมันเลวนี้ประกอบด้วยน้ำมันพืช ที่ได้รับการเปลี่ยนแปลงทางเคมีให้คงแข็งตัวในอุณหภูมิอุ่น เชื่อกันว่าก่อให้เกิดมะเร็งและโรคหัวใจสูง มักพบในมาการีน คุกกี้ อาหารประเภทอบ และขนมปังตามท้องตลาด


ถั่วเหลืองกับมะเร็งเต้านม :  จากการศึกษาของ Southern California University พบว่าผู้หญิงที่บริโภคถั่วเหลืองเป็นประจำในช่วงวัยรุ่น มีความเสี่ยงต่อมะเร็งเต้านมลดลงถึงครึ่งหนึ่งของผู้หญิงที่บริโภคถั่วเหลือเล็กน้อยในช่วงวัยเดียวกันและในวัยผู้ใหญ่ สำหรับผู้หญิงที่บริโภคถั่วเหลืองเป็นประจำในช่วงวัยรุ่น และบริโภคน้อยลงเมื่อเป็นผู้ใหญ่จะมีอัตราเสี่ยงลดลงเพียงร้อยละ 23 ทั้งนี้เพราะส่วนประกอบในถั่วเหลืองที่ช่วยลดความเสี่ยงมะเร็งเต้านมคือ Gentistein ซึ่งมีผลในการป้องกันเนื้องอกที่เต้านม

 

อาหารที่ต้องระวัง และหลีกเลี่ยง :

  1. สีผสมอาหาร  :  อาจก่อให้เกิดอาการแพ้ และเกิดโรคมะเร็งได้
  2. แอสพาร์แตม :  เป็นสารให้ความหวาน ทำให้เกิดอาหารปวดหัว เครียด นอนหลับไม่สนิท
  3. BHA, BHT : พวกเนยขาว หรือ ไขมันเทียม พบในขนมเบเกอรี่ ทำให้เกิดโรคมะเร็ง
  4. MSG :  ผงชูรส ถ้าผู้ที่แพ้จะเกิดอาหารปวดหัว ชาบริเวณใบหน้า คอแห้ง หัวใจเต้นเร็ว และก่อให้เกิดมะเร็ง
  5. Sulfites : สารกันบูด ทำให้เกิดอาการแพ้ หายใจไม่ออก ผื่นขึ้น และคลื่นไส้

 

คำว่า “You are what you eat” นั้นเป็นเรื่องจริงค่ะ ดังนั้นจะรับประทานอะไรเข้าไปขอให้เราเลือกให้ดีดีนะคะ เพราะทุกอย่างที่เราทาน เท่ากับสุขภาพของเราค่ะ ขอให้มีสุขภาพดีทุกท่านค่ะ

Tag : Healthy

Comments to this story

Write a comment


1.  views readmore
ALL Most Viewed
ALL TOP Rated
1.  comments readmore
ALL Most Comment